BCM ( Business Continuity Management )
BCM ย่อมาจากคำว่า Business Continuity Management เป็นมาตรฐานการบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤติ เหตุการณ์วิกฤตที่คาดไม่ถึงมีโอกาสเป็นไปได้ตลอดเวลา ยกตัวอย่าง เช่น ภัยที่เกิดจากมนุษย์ เช่น การก่อจลาจล การประท้วง ไฟไหม้ หรือภัยที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ ตึกถล่ม หรือ การเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้ หากเกิดขึ้นกับองค์กรใดแล้วนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ คือ ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก ไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ เกิดผลกระทบต่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผลกระทบทางตรงก็คือ องค์กรได้รับความเสียหายจากวิกฤต หรือ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ทำให้มีความสูญเสียทางธุรกิจที่เป็นรูปตัวเงินที่มีมูลค่าตามผลกระทบที่ได้รับ การหยุดชะงักของการให้บริการลูกค้า รวมทั้งอาจเกิดความสูญเสียต่อบุคคล
มาตรฐาน CMMI
CMMI คือ มาตรฐานกระบวนการในการพัฒนางาน กำหนดโดยสถาบันวิศวกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานในการปรับปรุงคุณภาพการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่รู้จักและยอมรับของสากล หากองค์กรใดได้รับ CMMI ถือว่าองค์กรนั้นมีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ดี มีประสิทธิภาพ และมีความน่าเชื่อถือ ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากมีแผนที่จะนำ CMMI มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพราะ CMMI มีขั้นตอนเพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การส่งมอบ และการบำรุงรักษา CMMI มี 5 ระดับ ซึ่งในแต่ละระดับจะใช้เป็นตัวบอกความสามารถการองค์กรว่าอยู่ในระดับใด
Querator โปรแกรมบริหารจัดการห้องเจาะเลือด
การให้บริการเจาะเลือดที่มีประสิทธิภาพเป็นขั้นตอนแรกที่จะทำให้การทดสอบทางพยาธิวิทยามีคุณภาพ ต้องยอมรับว่าห้องเจาะเลือดเป็นด่านหน้าที่ผู้ป่วย จะติดต่อกับห้องปฏิบัติการ จึงถือได้ว่าห้องเจาะเลือดเป็นตัวแทนของห้องปฏิบัติการที่จะแสดงให้ผู้ป่วยได้มองเห็นถึงคุณภาพประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของห้องปฏิบัติการ Querator โปรแกรมบริหารงานห้องเจาะเลือดเป็นโปรแกรมที่ใช้เทคโนโลยี Web Application สามารถรองรับการ ทำงาน ของห้องเจาะเลือดตั้งแต่การบริหารจัดการ การรอคอย การชี้บ่งคนไข้ การให้บริการเจาะเลือด การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่มีการ พัฒนาเพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องติดบาร์โค้ดหลอดเลือด อัตโนมัติและระบบของโรงพยาบาลได้
PICBOX 2.0
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ นำมาพัฒนาโปรแกรมจัดเก็บและแสดงข้อมูลไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เอกสาร สามารถส่งผ่านและบันทึกข้อมูลของไฟล์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การเรียกดูข้อมูลและใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการในการสืบค้นข้อมูลได้รวดเร็ว และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโรคของแพทย์นั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลของผู้ป่วย การมีข้อมูลที่ถูกต้องและมีรายละเอียดมากเพียงพอ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการตรวจวินิจฉัย การประเมินการรักษา การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของโรค และการติดตามการรักษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วย
Highlight Function : Checkpoint
โปรแกรมสั่งตรวจและรายงานผลออนไลน์ ที่ทำงานด้วยระบบ web platform ทำงานแบบ N-Tier ทำให้โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด หรือห้องปฏิบัติการเอกชนสามารถ รับใบสั่งตรวจ ดูผลการวิเคราะห์ และติดตามเอกสาร รวมทั้งบิล ได้ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับ โดยกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน ออกเป็น ระดับแตกต่างกัน โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเข้ารหัสตามมาตรฐานสากล สำหรับลูกค้าที่มีระบบ LIS ใช้งานอยู่แล้วระบบสามารถเชื่อมโยงคำสั่งตรวจและผลเข้าระบบ LIS ได้แบบอัตโนมัติโดยลด ปัญหาการพิมพ์ข้อมูลซ้ำช้อน และยังสะดวกต่อการใช้งานอีกด้วย นอกจากนี้ข้อจะทำการอัพเดทแบบเรียลไทม์ (Realtime) ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่วิเคราะห์แลปพิมพ์ผลเพื่อรายงานทางอินเตอร์เน็ต
RAX Checkpoint
โปรแกรมสั่งตรวจและรายงานผลแลปออนไลน์ สำหรับห้องปฏิบัติการที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์แก่โรงพยาบาลเครือข่ายหรือแลปเอกชน ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เป็นเป็นหน่วยงานในโรงพยาบาลที่มีความสำคัญ มีหน้าที่ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของผู้ป่วยจากสิ่งส่งตรวจ และนำผลตรวจไปประกอบการวินิจฉัยโรคของแพทย์ ผู้รับบริการได้แก่ แพทย์ พยาบาลและผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้บริการได้อย่างรวดเร็วและได้ผลถูกต้อง แม่นยำจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ
What’s New in RAX Mobile Checkup 3.05
บริษัทฯได้ทำการแก้ไขข้อบกพร่องของเวอร์ชันก่อนหน้า (RAX Mobile Checkup 3.00) และเพิ่มเติมความสามารถในการทำงานหลายๆส่วน เพื่อช่วยให้การตรวจสุขภาพเคลื่อนที่เป็นไปตามมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดที่เพิ่มเติมของโปรแกรมมีดังนี้
RAX PlanVision
จากแนวคิดของ incident management ประกอบด้วยกระบวนการในการจัดการกับ incident ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถปฏิบัติตามได้ตามขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม Rax PlanVision ดังนี้ การเปิด incident เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการกับ incident ที่เกิดขึ้น โดยเป็นการกำหนดขึ้นมาว่า incident ที่เกิดขึ้นคืออะไร เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม Rax PlanVision การกำหนดตัวผู้รับผิดชอบ เป็นขั้นตอนในการกำหนดว่า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาหรือ incident ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมและติดตามผลการแก้ปัญหา
Incident Management
ถึงแม้จะมีการบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดีเพียงใด แต่ทุกระบบทุกวิธีการล้วนมีจุดอ่อนหรือช่องโหว่ด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งจุดอ่อนหรือช่องโหว่ที่กล่าวถึงนี้ ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งนอกเหนือจากความคาดหมายที่ได้ประเมินไว้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า อุบัติการณ์ (Incident) เนื่องจากอุบัติการณ์เป็นเหตุการณ์ที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงดำเนินการแก้ไข หรือตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นระบบ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นแบบแผน ผลการแก้ไขที่เกิดขึ้นจึงไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังไม่มีการวางแนวทางป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดซ้ำอีกด้วย จากปัญหาดังกล่าว จึงเกิดแนวคิด Incident management ขึ้น ซึ่งเป้าหมายหลักของการจัดการกับ incident ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็คือ การทำให้หน่วยงานหรือองค์กรสามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิมโดยเร็วที่สุด และส่งผลกระทบต่อการทำงานให้น้อยที่สุด เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่า จะได้รับการบริการที่ดีที่สุดจากหน่วยงานหรือองค์กรอยู่เสมอ
RAX Mobile Checkup 3.0
โปรแกรมตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ RAX Mobile Checkup 3.0 เป็นโปรแกรมสารสนเทศที่สามารถจัดการกับข้อมูล และตอบสนองกับการทำงานด้านการตรวจสุขภาพนอกสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการทำงานดังกล่าวต้องใช้ข้อมูลของพนักงานผู้เข้ารับการตรวจ และข้อมูลผลการตรวจที่มากมาย ทำให้เกิดการรายงานผลการตรวจที่ผิดพลาดและเกิดความล่าช้า โปรแกรมตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ RAX Mobile Checkup 3.0 จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าว และยังสามารถช่วยให้การดำเนินงานตรวจสุขภาพเคลื่อนที่เป็นไปตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นระบบที่ใช้งานง่าย สามารถรองรับการตรวจสุขภาพได้อย่างครอบคลุมเช่น การตรวจทางห้องปฏิบัติการ, การตรวจทางกายภาพโดยแพทย์, การตรวจทางด้าน X-ray และอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถทำการออกบาร์โค๊ดเพื่อระบุตัวอย่างตรวจ สามารถติดตามขั้นตอนของการทำงาน และสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆในการถ่ายโอนข้อมูลได้
Recent Comments