RAX PlanVision
จากแนวคิดของ incident management ประกอบด้วยกระบวนการในการจัดการกับ incident ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถปฏิบัติตามได้ตามขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม Rax PlanVision ดังนี้
การเปิด incident เป็นขั้นตอนแรกในการจัดการกับ incident ที่เกิดขึ้น โดยเป็นการกำหนดขึ้นมาว่า incident ที่เกิดขึ้นคืออะไร เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม Rax PlanVision
การกำหนดตัวผู้รับผิดชอบ เป็นขั้นตอนในการกำหนดว่า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาหรือ incident ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมและติดตามผลการแก้ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหา เป็นขั้นตอนในการคิดวิเคราะห์ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในหน่วยงานอย่างไรหรือเกี่ยวข้องกับบุคคลใดบ้าง แนวทางในการแก้ไขปัญหา รวมถึงระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา
ดำเนินการแก้ไขปัญหา เป็นขั้นตอนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยดำเนินการแก้ไขตามแผนที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนที่แล้ว เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดำเนินไปอย่างเป็นระบบ สะดวกในการติดตามประเมินผล
กำหนดแนวทางในการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ เป็นขั้นตอนในการกำหนดแนวทางป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นซ้ำอีก โดยอาจปรับหรือกำหนดแนวทางปฏิบัติใหม่ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดโอกาสในการเกิด incident ใหม่ในภายหลัง
การบันทึกการทำงาน เป็นขั้นตอนในการบันทึกผลการแก้ไข incident ที่เกิดขึ้น ว่าเมื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วนั้น ได้ผลเป็นอย่างไร เป็นที่น่าพอใจ หรือต้องกลับไปแก้ไขซ้ำ รวมทั้งเพื่อเป็นประโยชน์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานอีกด้วย
การติดตามผล เป็นการติดตามดูว่า ผลจากการที่ดำเนินการแก้ไขและป้องกัน incident นั้น มีประสิทธิภาพเพียงใด ป้องกันไม่ให้ incident เกิดขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และในกรณีที่ต้องมีการกลับไปแก้ไขซ้ำ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้วหรือไม่
การปิด incident เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการ incident management โดยเมื่อสามารถจัดการแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว ก็จะดำเนินการปิด incident ที่เกิดขึ้น
Recent Comments